
เปิดบันทึกประวัติศาสตร์ โรคระบาดรุนแรงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มาจากประเทศจีน สยามเตรียมตัวอย่างไร และวิธีการจัดการเมื่อโรคระบาดในกรุงเทพฯ กับผลที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
สถานการณ์โควิด 19 ในช่วงกลางเดือนเมษายน ยังถือว่าทรง ๆ ถึงแม้ยอดผู้ป่วยรายวันจะลดลงมากแล้วจากช่วงพีค ๆ แต่ก็ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ยังคงต้องเฝ้าระวังต่อไป และขอความร่วมมือประชาชนในการป้องกันตัวเองด้วย
ขณะที่เฟซบุ๊ก สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ก็มีการโพสต์สถานการณ์กาฬโรคระบาดเป็นครั้งแรกเมื่อ 100 ปีก่อน พร้อมชำแหละประวัติศาสตร์ว่า ช่วงนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง และรัฐมีมาตรการจัดการอย่างไร ที่ทำให้ประชาชนเชื่อมั่นและไว้ใจ จนให้ความร่วมมือกับรัฐและจัดการกับโรคนี้ได้สำเร็จ
โดยจุดเริ่มต้นของกาฬโรค หรือเรียกอีกชื่อว่า ห่าดำ เริ่มต้นจากมณฑลยูนนานในจีน ก่อนแพร่ระบาดมายังเมืองฮ่องกงใน พ.ศ. 2437 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จากนั้นเริ่มแพร่ระบาดไปทั่วโลก
อาการของกาฬโรคและวิธีติดต่อ
อาการป่วยนั้นจะเกิดไข้สูงเฉียบพลัน มีรอยช้ำสีดำที่มาจากเลือดออกภายใน และต่อมน้ำเหลืองบวมบริเวณขาหนีบกับรักแร้ จนเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว การติดต่อมาจากการสัมผัสและการหายใจ อีกทั้งยังมีหนูและหมัดหนูเป็นพาหะนำโรค ทำให้ระบาดได้อย่างกว้างขวาง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบข่าวกาฬโรคที่กำลังระบาดในต่างประเทศ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งด่านกักกันเรือที่เกาะไผ่ และร่างกฎหมายกักกันเรือ ไม่ให้โรคระบาดเข้าสยามได้ รวมถึงมีการรักษาความสะอาดด้วยการตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ พ.ศ. 2440 และตั้งแพทย์สุขาภิบาลเพื่อจัดการป้องกันโรคแก่ราษฎรอย่างเร่งด่วน นำโดย นพ.ฮิวจ์ แคมป์เบล ไฮเอต
ต่อมา พ.ศ. 2444 กาฬโรคได้เข้าสยามเป็นครั้งแรกที่ภูเก็ต จากนั้นค่อย ๆ รุกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่ง พ.ศ. 2447 จึงเข้ามาที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ทาง นพ.ไฮเอต จึงได้ใช้มาตรการต่าง ๆ คอยจัดการกาฬโรค ดังนี้
– ปิดล้อมบริเวณที่เกิดการระบาด และทำความสะอาดอย่างถ้วนทั่ว
– รื้อถอน เผาบ้านที่สกปรก
– ตั้งกลุ่มจับหนู
– ตั้งโรงพยาบาลกาฬโรคที่คลองสาน เพื่อแยกกักกันผู้ป่วย และปัจจุบันคือโรงพยาบาลตากสิน
อุปสรรคของการป้องกันกาฬโรค
สิ่งที่ลำบากที่สุดในการทำงานของเจ้าหน้าที่คือ ความหวาดกลัวของราษฎร ทั้งเรื่องความร้ายแรงของโรค และมาตรการที่เด็ดขาดของรัฐ ทำให้เกิดการปกปิด รวมถึงมีข่าวลือให้ร้ายการทำงานของเจ้าหน้าที่ จนแพทย์ถูกข่มขู่คุกคาม
ส่วนวิธีแก้ไขนั้น รัฐบาลออกประกาศที่มุ่งเน้นให้ความรู้ความเข้าใจแก่ราษฎร จนถึงบังคับให้แจ้งความเมื่อมีผู้ป่วยกาฬโรค ทำให้ราษฎรร่วมมือกับแพทย์มากขึ้น
ผลจากมาตรการป้องกันกาฬโรค
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook